วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2552

อาเซียน : ASEAN


อาเซียน : ASEAN (Association of South East Asia Nations)



อาเซียน : ASEAN (Association of South East Asia Nations)หรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเริ่มต้นเมื่อเดือน ก.ค. ปี 2504 โดยประเทศฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และไทย ได้ร่วมมือจัดตั้งสมาคมอาสา หรือ Association of South east Asia เพื่อที่จะร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม แต่ดำเนินการได้ 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงัก เนื่องจากความผันแปรทางการเมืองระหว่างอินโอนีเซียกับมาเลเซีย จนกระทั่งมีการฟื้นฟูสัมพันธภาพ จึงมีการมองสู่ทางที่จะจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมภาคนี้ ดังนั้น สมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 ส.ค. พ.ศ. 2510 โดยมีสมาชิกแรกเริ่ม 5 ประเทศ ได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์และประเทศไทย และได้ทำการลงนามปฎิญญากันที่กรุงเทพ ฯ ปัจจุบันอาเซียน มีสมาชิก 10 ประเทศ ซึ่งมีสมาชิกที่เพิ่มขึ้น คือ บรูไน พม่า ลาว เวียดนาม และกัมพูชาวัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง เพื่อความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ โดยประเทศอาเซียนได้ตกลงที่จะลดอากรขาเข้าทางการค้าเป็นพิเศษสำหรับสินค้าในกลุ่มมิอาเซียน มีการทำสัญญาซื้อขายระยะยาวสำหรับสินค้าบางชนิดระหว่างกัน ให้สิทธิพิเศษแก่สินค้าอาเซียนในการจัดซื้อของหน่วยงานและองค์กรของรัฐ ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่การซื้อขายสินค้าอาเซียน ในอัตราดอกเบี้ยพิเศษ เป็นต้น ส่วนสำนักงานของอาเซียน หรือที่เรียกกันว่า สำนักงานเลขาธิการอาเซียน ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการดำเนินงานของกลุ่มอาเซียน ตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย

ระบบ 3G คืออะไร ???


3G หรือ Third Generation เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3 อุปกรณ์การสื่อสารยุคที่ 3 นั้นจะเป็นอุปกรณ์ที่ผสมผสาน การนำเสนอข้อมูล และ เทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกัน เช่น PDA โทรศัพท์มือถือ Walkman, กล้องถ่ายรูป และ อินเทอร์เน็ต


3G เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องจากยุคที่ 2 และ 2.5 ซึ่งเป็นยุคที่มีการให้บริการระบบเสียง และ การส่งข้อมูลในขั้นต้น ทั้งยังมีข้อจำกัดอยู่มาก การพัฒนาของ 3G ทำให้เกิดการใช้บริการมัลติมีเดีย และ ส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น


ลักษณะการทำงานของ 3G เมื่อเปรียบเทียบเทคโนโลยี 2G กับ 3G แล้ว 3G มีช่องสัญญาณความถี่ และ ความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า ทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลแอพพลิเคชั่น รวมทั้งบริการระบบเสียงดีขึ้น พร้อมทั้งสามารถใช้ บริการมัลติมีเดียได้เต็มที่ และ สมบูรณ์แบบขึ้น


เช่น บริการส่งแฟกซ์, โทรศัพท์ต่างประเทศ ,รับ-ส่งข้อความที่มีขนาดใหญ่ ,ประชุมทางไกลผ่านหน้าจออุปกรณ์สื่อสาร, ดาวน์โหลดเพลง, ชมภาพยนตร์แบบสั้นๆ เทคโนโลยี


3G น่าสนใจอย่างไร


จากการที่ 3G สามารถรับส่งข้อมูลในความเร็วสูง ทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปได้ อย่างรวดเร็ว และ มีรูปแบบใหม่ๆ มากขึ้น ประกอบกับอุปกรณ์สื่อสารไร้สายในระบบ 3G สามารถให้บริการระบบเสียง และ แอพพลิเคชั่นรูปแบบใหม่


เช่น จอแสดงภาพสี, เครื่องเล่น mp3, เครื่องเล่นวีดีโอ การดาวน์โหลดเกม, แสดงกราฟฟิก และ การแสดงแผนที่ตั้งต่างๆ ทำให้การสื่อสารเป็นแบบอินเตอร์แอคทีฟ ที่สร้างความสนุกสนาน และ สมจริงมากขึ้น


3G ช่วยให้ชีวิตประจำวันสะดวกสบายและคล่องตัวขึ้น โดย โทรศัพท์เคลื่อนที่เปรียบเสมือน คอมพิวเตอร์แบบพกพา, วิทยุส่วนตัว และแม้แต่กล้องถ่ายรูป ผู้ใช้สามารถเช็คข้อมูลใน account ส่วนตัว เพื่อใช้บริการต่างๆ ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ เช่น self-care (ตรวจสอบค่าใช้บริการ), แก้ไขข้อมูลส่วนตัว และ ใช้บริการข้อมูลต่างๆ เช่น ข่าวเกาะติดสถานการณ์, ข่าวบันเทิง, ข้อมูลด้านการเงิน, ข้อมูลการท่องเที่ยว และ ตารางนัดหมายส่วนตัว “Always On”


คุณสมบัติหลักของ 3G คือ


มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายของ 3G ตลอดเวลาที่เราเปิดเครื่องโทรศัพท์ (always on) นั่นคือไม่จำเป็นต้องต่อโทรศัพท์เข้าเครือข่าย และ log-in ทุกครั้งเพื่อใช้บริการรับส่งข้อมูล


ซึ่งการเสียค่าบริการแบบนี้ จะเกิดขึ้นเมื่อมีการเรียกใช้ข้อมูลผ่านเครือข่ายเท่านั้น โดยจะต่างจากระบบทั่วไป ที่จะเสียค่าบริการตั้งแต่เราล็อกอินเข้าในระบบเครือข่าย อุปกรณ์สื่อสารไร้สายระบบ 3G สำหรับ 3G อุปกรณ์สื่อสารไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่โทรศัพท์เท่านั้น แต่ยังปรากฏในรูปแบบของอุปกรณ์ สื่อสารอื่น เช่น Palmtop, Personal Digital Assistant (PDA), Laptop และ PC

เริ่มเรียนอาทิตย์แรก

วิชา ไมโครคอมพิวเตอร์และการใช้งาน2 คาบที่1
สมัคร Gmail
สร้าง Blogspot
เรียนรู้เรื่อง IQ,EQ,AQ,TQ,MQ
  • IQ คือการพัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะกระบวนการคิด กระบวนการเรียนรู้ ความเฉลียวฉลาด ความใฝ่รู้
  • EQ คือการพัฒนาให้ผู้เรียนรู้จักตนเองและมีความมั่นคงทางอารมณ์
  • AQ คือการพัฒนาทักษะในการแก้ไขปัญหาที่ไม่เคยพบมาก่อน ให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
  • TQ คือการพัฒนาความคล่องแคล่วในการใช้เทคโนโลยี และใช้ให้เหมาะสมกับความต้องการ
  • MQ คือการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม มีจิตใจงดงาม รู้จักขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีและอยู่ในสังคมความรู้ได้อย่างมีความสุข

สุดท้าย แบบทดสอบก่อนเรียน

เริ่มเรียนสัปดาห์ที่1


ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับ การเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษาซี ภาษาปาสคาล ภาษา เบสิก และการประยุกต์ใช้ในงานโทรคมนาคม

จุดประสงค์รายวิชา

  1. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง
  2. เพื่อให้มีความสามารถเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์
  3. เพื่อให้มีกิจนสัยในการทํางานด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อย ประณีต รอบคอบและปลอดภัย

มาตรฐานรายวิชา

  1. เข้าใจหลักการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วยภาษาโครงสร้าง
  2. เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ภาษาโครงสร้าง
  3. ประยุกต์ใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในงานอาชีพ

สมรรถนะงานอาชีพ (อาชีพที่ทำได้จากการเรียนรายวิชานี้ระบุเพียง 1 อาชีพ)- โปรแกรมเมอร์

การวัดผลและประเมินผล


วัดผลตามเกณฑ์มาตรฐานของวิทยาลัย โดยมีการวัดผลและประเมินผลดังนี้ การวัดผล(100%)

  1. พิจารณาจากงานที่ได้รับมอบหมาย 20 %
  2. พิจารณาจากใบงาน 20 %
  3. พิจารณาจากกิจนิสัย ความสนใจ ,ความรับผิดชอบ และการเข้าร่วมกิจกรรม 20 %
  4. การสอบภาคทฤษฎีและการสอบปฏิบัติ 40 %

หน่วยการสอน


สัปดาห์ที่ หน่วยการสอน ชื่อหน่วยการสอน

  • 1-2 1 การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์
  • 3-4 2 การเขียนผังงานุ
  • 6-7 3 ความรู้เบื้องต้นของภาษา C และ Turbo C++
  • 8-9 4 องค์ประกอบของภาษา C
  • 10-12 5 คำสั่งรับ/แสดงผลข้อมูล และการหมายเหตุโปรแกรมในโปรแกรมภาษา C
  • 13-16 6 คำสั่งควบคุมโปรแกรม
  • 17-18 - ทบทวนเนื้อหา ทดสอบทฤษฎีและปฏิบัติ